วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การซ่อมวินโดส์ XP กรณีบู๊ตไม่ขึ้น

การซ่อมวินโดส์ XP กรณีบู๊ตไม่ขึ้น มีหลายวิธี วิธีแรกคือใช้ System Restore ใน Safe Mode โดยกดปุ่ม F8 ค้างไว้ ขณะบู๊ตเครื่องใหม่ แล้วเลือกไปที่หัวข้อ Safet Mode ตู้วันที่ย้อนหลังครั้งล่าสุด วิธีที่สองก็คือในตอนบู๊ตให้เลือกหัวข้อ "Last Know Good Configuration" ก็จะตู้ระบบครั้งล่าสุดให้ทันที สาเหตุ :ถ้าวินโดว์สไม่บู๊ตหรือรันหน้าต่าง Start up...Windows XP เลย อาจเป็นที่ไฟล์ Boot Sector ของไฟล์ระบบเสีย หรือมีปัญหาขัดแย้งกับไฟล์ ntldr หรือ ntdetect.com ทำให้บู๊ตไม่ขึ้นภาพซึ่งเราต้องมาใช้วิธีที่สามโดยการ
ให้ก๊อปปี้ไฟล์ ระบบจากเครื่องอื่นที่ลง Windows XP เหมือนกันหรือคุณจะก๊อปปี้ไฟล์ระบบที่เครื่องคุณเอาไว้ก่อนที่เครื่องจะมี ปัญหาก็ได้ ด้วยใช้คำสั่ง xcopy ผ่านโหมด command line โดยทำตามขั้นตอนดังนี้
- ก๊อปปี้ 3 ไฟล์ข้างนี้ โดยใส่แผ่นเปล่า (1.44MB)ลงในไดรว์ a:

xcopy c:\boot.ini a:/h
xcopy c:\ntdetect.com a:/h
xcopy c:\ntldr a:/h

เมื่อก๊อปปี้เสร็จเอาเก็บไว้ใช้ในขั้นตอนต่อไป

- บู๊ตเครื่องใหม่ แล้วกดปุ่ม F8 ค้างไว้ เพื่อไปหน้าจอ Safe Mode
- เอาแผ่นดิสก์ที่ทำไว้แล้วตามข้อแรกใส่ไปที่เครื่อง ออกไปที่ DOS Prompt แล้วพิมพ์คำสั่งก๊อปปี้ไฟล์ตามข้างล่างนี้
xcopy a:*.* c:\ /h
- กดปุ่ม enter ตามหลังคำสั่ง
- บู๊ตเครื่องใหม่อีกครั้ง ก็จะสามารถเข้าหน้าเดสก์ทอปของวินโดว์สได้ตามเดิม หากยังไม่สามารถเข้าวินโดส์ได้ ต้องใช้วิธีที่สี่คือให้บู๊ตจาก CD-ROM ซ่อมแล้ว โดยการเข้าไปที่โหมด Repair



เมื่อ ไม่นานมานี้ได้เจอปัญหาวินโดว์บูตไม่ขึ้นอยู่หลายเครื่อง แล้วปัญหาที่เจอส่วนใหญ่เกิดจาก ไฟล์ สำหรับบูตระบบ หายสังเกตได้จาก เมื่อ เปิดเครื่องแล้ว สักพัก เครื่องจะฟ้องว่า

NTLDR Missing

Please Press Ctrl+Alt+Del To Restart

ประมาณ นี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ที่เจอปัญหานี้ก็จะใช้วิธีลงวินโดว์ใหม่แต่ช่วงหลังได้รู้ ว่ามีวิธีที่แก้ไขโดยที่ไม่ต้องลงวินโดว์ใหม่ แต่ก็ยังไม่ได้ลองสักที มีบางครั้งที่ลองแล้วแต่ก็ยังไม่สำเร็จ ก็เลยยังทำไม่ได้สักที แต่เมื่อเจอปัญหานี้บ่อยขึ้นก็เลย ทดลองอย่างจริง ๆ จัง ๆ สักที ก็เป็นวิธีที่ทำให้ ย่นเวลาในการซ่อมขึ้นมาก ถ้าหากต้องลงวินโดว์ใหม่ พร้อมลงโปรแกรมครั้งหนึ่งก็จะกินเวลาไป อย่างต่ำครึ่งวันเลย แต่สำหรับวิธีนี้ ใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง นิด ๆ ก็เปิดใช้งานได้เป็นปกติ

วิธีการแก้ไขปัญหา

1. ใช้แผ่นบูตของวินโดว์บูต
2. กด R เพื่อเข้าสู่ Recovery Console
3. เลือก Drive โดยใส่ตัวเลขที่ต้องการ
4. พิมพ์คำสั่ง bootcfg /rebuild
5. copy d:\i386\ntldr c:\
6. copy d:\i386\ntdetect.com c:\
7. reboot เครื่อง เอาแผ่นวินโดว์ออก จะสามารถเข้า วินโดว์ได้ตามปกติ
เพียงเท่านี้ระบบก็จะกลับมาทำงานได้อีกครั้ง

วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิธีการตรวจเช๊ดเมนบอร์ด เสีย ไม่เสีย

1.คุณต้องมี อุปกรณ์ที่รู้แน่ๆว่า สภาพดีแน่นอน คือ ซีพียู แรม การ์ดจอ พาวเวอร์ซัพพลาย จอ รวมถึงสายไฟ สายต่อพ่วง
2.นำเมนบอร์ดถอดออกมาวางบนกล่องกระดาษ
3.ติดตั้งอุปกรณ์ ซีพียู แรม การ์ดจอ พาวเวอร์ซัพพลาย ต่อสายพาวเวอร์ในตำแหน่งต่างๆบนเมนบอร์ดสองแห่ง เรียบร้อย
4.CLEAR CMOS , BIOS
5.ต่อสายไฟฟ้าเข้า พาวเวอร์ซัพพลาย เปิดสวิทช์ไฟฟ้าเข้าเมนบอร์ด ต่อสายการ์ดจอเข้าจอมอนิเตอร์
6.ใช้ปลายไขควง สกิด 2ขาพร้อมกัน(ขาPOWER SWITCH)คือขาที่16, 17 ปกติใช้สำหรับเป็นที่เสียบสายจาก FRONT PANEL
7.ดูการทำงานแสดงผลบนเมนบอร์ด ผ่านการบูทจากไบออส ไปเรื่อยจนถึง การหาHARDDISK ไม่เจอ เพราะเรายังไม่ติดตั้ง
8.นี่คือ เมนบอร์ด ทำงานปกติ แต่ยังไม่แน่ ว่าช่องพอร์ตอื่นๆเป็นปกติหรือไม่ ช่องคีบอร์ด เม้าส์ แลน ต้องทดสอบหลังลงวินโดว์แล้ว
9.ถ้า ไม่มีการแสดงผลบนจอหรือมีแต่แสดงผลแบบกระท่อนกระแท่นแล้วรีสตาร์ทบ้าง หรือดับไปบ้าง ล้วนบอกอาการว่าเสีย เลวร้ายที่สุด คือไม่แสดงภาพอะไรเลย คือเสียแน่นอน
10.ถ้าผ่านข้อ (8) ไปแล้วเราจัดการติดตั้ง ฮาร์ดดิสก์ เสร็จแล้ว ติดตั้งวินโดว์สำเร็จแล้ว และลงไดเวอร์เมนบอร์ดให้ตรงกัน ลงไดเวอร์ให้ตรงกับอุปกรณ์สำคัญอื่นด้วยคือ การ์ดจอ การ์ดเสียง(ถ้ามี) การ์ดแลน(ค้ามี) ปัจจุบันสองอย่างนี้จะออนบอร์ด
11.ถ้าติดตั้งวินโดว์ไม่ผ่าน อาจมีสองกรณีคือแผ่นติดตั้งเสีย (หรือไม่สมบูรณ์) กับ ฮาร์ดดิสก์มีปัญหาทางกายภาพอย่งใดอย่างหนึ่ง

การตรวจเช็คอาการเสียของเพาเวอร์ซัพพลาย

Power Supply ที่อยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งาน จะเป็นสาเหตุให้อุปกรณ์อื่นๆในคอมพิวเตอร์เสียหายได้ โดยเฉพาะ Harddisk ดังนั้นการหมั่นตรวจสอบสภาพของ Power Supply อยู่เสมอ ถ้าพบว่าเสียหายควรซ่อมแซมหรือเปลี่ยนตัวใหม่ ก่อนที่จะสายเกินไป

Power Supply มี 2 แบบ
แบบที่ 1. แบบ Linear มีหม้อแปลงใหญ่ขนาดใหญ่ ตัดวงจรโดย Fuse
แบบที่ 2. แบบ Switching มี Transistor ทำหน้าที่ตัดวงจร
2.1 แบบ XT มีขนาดใหญ่ มีหัวเดียว 12 เส้น มี Switch ปิด-เปิดอยู่ด้านหลัง Power Supply
2.2 แบบ AT เล็กกว่า XT มีหัวเสียบ 2 หัว คือ P8 , P9 มีสวิทช์ปิด-เปิดโยงจาก Power Supply มายังหน้า Case (ราคาประมาณ 450 บาท)
2.3 แบบ ATX มีหัวเสียบเดียว 20 เส้น ไม่มี Switch ปิด-เปิด เมื่อสั่ง Shut Down จาก Program เครื่องจะปิดเองโดยอัติโนมัติ (ราคาประมาณ 600-800 บาท)

* ถ้าต้องการตรวจสอบการใช้งานในขณะที่ไม่ได้ต่อกับ Mainboard ให้ Jump สายสีเทา (หรือสีเขียว) กับสีดำ พัดลมของ Power Supply จะหมุน แสดงว่าใช้งานได้


การใช้มิเตอร์วัดไฟ Power Supply
ดำ + ดำ = 0 V
ดำ + แดง = 5 V
ดำ + ขาว = -5 V
ดำ + น้ำเงิน = -12 V
ดำ + ส้ม = 5 V
ดำ + เหลือง = 3.3 V
ดำ + น้ำตาล = 12 V

* เข็มมิเตอร์ตีกลับ ให้กลับสาย ใช้ค่า ติด -

*AC=220 V (L กับ N)
L1 380 Vac
L2 380 Vac
L3 380 Vac
N Nutron , G ไม่มีไฟ
*230W (23A) - 300W (30A)
โดย W=V*I
ส่วนของ Power Supply ที่สามารถตรวจซ่อมได้
1. Fuse
2. Bridge
3. Switching
4. IC Regulator
5. C ตัวใหญ่
6. IC
Chart ประกอบการตรวจเช็ค Power Supply
วงจรเพาเวอร์ซัพพลาย (Block Diagram)



คัดลอก, อ้างอิง
www.sanambin.com